ปม แตงโมฟันหัก ไทด์ เอกพันธ์ ออกมาชี้แจงอีกครั้ง หลังล่าสุด ผลนิติเวชไม่พบประเด็นดังกล่าว เจ้าตัวยันพูดไปตามที่เห็น ผลผ่าพิสูจน์ออกมาก็ยอมรับ ก่อนหน้านี้ ไทด์ เอกพันธ์ นักแสดงจิตอาสา มูลนิธิร่วมกตัญญู เคยออกมาให้ข้อมูลในรายการ ดราม่าวันนี้ที่ อั๋น ภูวนาท เป็นผู้ดำเนินรายการ ได้สอบถามเกี่ยวกับสภาพร่างของ แตงโม นิดา วันที่กู้ร่างขึ้นจากแม่น้ำเจ้าพระยา โดยนักแสดงจิตอาสา ระบุในรายการว่า เมื่อสังเกตุบริเวณใบหน้าพบว่า
แตงโมฟันหัก และใบหน้าซ้ายขวาช้ำบวมไม่เท่ากันอย่างผิดปกติ ซึ่งหลังจากข้อมูลนี้เผยแพร่ออกไปก็ทำให้เกิดการตั้งคำถามจากสังคมจำนวนมาก เกี่ยวกับสภาพบาดแผลและศพของดาราสาว
อย่างไรก็ตาม ล่าสุดวานนี้ (14 มี.ค.65) หลังจาก ผลชันสูตรศพแตงโม จากสถาบันนิติเวชวิทยา รพ.ตำรวจ ระบุ ไม่พบว่ามีฟันไม่มีฟันหักแม้แต่ซี่เดียว โดยทีมทนายทั้งทานยเดชา และพ ทนายกฤษณะ ได้ตรวจสอบหมดทุกอย่าง โดยดูจากภาพถ่ายศพ ไม่ได้ดูศพ ทำให้วันนี้ (15 มี.ค.65) ไทด์ เอกพันธ์ ก็ออกมากล่าวถึงประเด็นดังกล่าวอีกครั้ง โดยเป็นการสัมภาษณ์กับรายการ เที่ยงวันทันเหตุการณ์ สถานีโทรทัศน์ช่อง 3 โดยยอมรับผลชันสูตรศพแตงโม ส่วนที่เกี่ยวกับประเด็นฟันหัก ตนได้พูดไปตามสิ่งที่เห็น เห็นฟันแตงโมหักไปครึ่งซี่ และมีแผลบวมช้ำที่ใบหน้า ตาทั้ง 2 ไม่เท่ากัน ยืนยันไม่เคยพูดว่าฟันคู่หน้าของน้องหัก และที่พูดก็ไม่ได้ลบล้างคดี หรือลบล้างผลชันสูตรของแตงโม พร้อมยอมรับและเคารพผลการชันสูตรของนิติเวช โรงพยาบาลตำรวจ
แชร์สนั่นโซเชียล คลิปหลวงพี่ดวลปืนกลางงานบวช แจงยิงเพื่อระงับเหตุ ไม่ให้เพื่อนสองกลุ่มตะลุมบอนกัน สาเหตุพูดจาแซวหญิงสาวของอีกกลุ่ม
เมื่อวันที่ 14 มี.ค.ที่ผ่านมา เฟซบุ๊กแฟนเพจ “ทำขวัญนาค” ได้โพสต์คลิปเหตุการณ์ทะเลาะวิวาทในงานบวช ที่จัดงานที่บ้านพัก หมู่ 1 ต.หนองกุ่ม อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี โดยจากคลิปวอดีโอจะเห็นเหตุกสารณิชุลมุนของผู้คนจำนวนหนึ่งซึ่งต่อมาทราบว่ามีเสียงดังคล้ายเสียงปืนภายในงานหลายนัด และเมื่อถูกแชร์ออกไปก็กลายเป็นที่วิจารณ์อย่างหนัก
ล่าสุด (15 มี.ค.65) ทราบว่า คนที่ยิงปืน คือ พระโย่ ซึ่งได้เปิดใจถึงเหตุการณืซึ่งเกิดเมื่อช่วงค่ำของวันที่ 12 มีนาคมที่ผ่านมาว่า หลังเกิดเหตุตนรู้สึกเสียใจเป็นอย่างมาก ตนตั้งใจเชิญเพื่อนๆ ให้มาร่วมงานบวช ซึ่งเป็นงานสำคัญแต่กลับมาก่อเหตุทะเลาะวิวาท โดยเหตุชุลมุนเกิดขึ้นขณะกำลังจัดงานเลี้ยงที่ลานหน้าบ้าน
อย่าพึ่งนิ่งนอนใจ! WHO เผยอาจมี โควิดสายพันธุ์ใหม่ หลังโอมิครอน
ศูนย์จีโนม ออกมาเปิดเผยโดยอ้างอิงจาก องค์การอนามัยโลกหรือ WHO ว่า หลังโควิดโอมิครอนสงบลง อาจมี โควิดสายพันธุ์ใหม่ อีก ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้โพสต์ข้อความเฟซบุ๊ก พูดถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ภายหลังจากที่โควิดสายพันธุ์โอมิครอนสงบเลย โดยเชื่อว่าจะมีโควิดสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นอีก
โดยข้อความระบุว่า “องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกมาย้ำเตือนและขอความร่วมมือจากทุกประเทศทั่วโลก เมื่อวันที่ 10 มี.ค. 65 ที่ผ่านมา ดังนี้
1. ขออย่าลดจำนวนการตรวจ (ATK, RT-PCR และการถอดรหัสพันธุกรรมไวรัสทั้งจีโนม) ในช่วงนี้ เพราะจะทำให้เราตามจับไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์ใหม่ไม่ทัน ส่งผลให้การวางแผนในการตรวจติดตาม ป้องกัน และรักษาไวรัสโคโรนา 2019 กลายพันธุ์ของ WHO ล่าช้าไม่ทันต่อเหตุการณ์
2. ดูแลผู้สูงอายุและกลุ่มเสี่ยง (608) ให้ได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งแม้จะมีวัคซีนพอเพียง แต่ปรากฏว่าบางกลุ่มประชากรโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มเสี่ยง (608) กลับไม่ได้รับการฉีดวัคซีนที่ครบถ้วน
WHO ได้ตั้งเป้าการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนในทุกประเทศให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 70 ของทุกกลุ่มประชากร
3. WHO ประเมินว่าจะมีสายพันธุ์ใหม่และสายพันธุ์ลูกผสม (recombinant variants) เกิดขึ้นหลังจากโอมิครอนสงบลง แต่ด้วยภูมิคุ้มกันที่เรามีสะสมกันมาทั้งจากวัคซีนและจากการติดเชื้อตามธรรมชาติ จะช่วยลดผลกระทบได้
4. การกำจัดไวรัสให้หมดไปไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่าย ที่สำเร็จมาแล้วมีเพียงตัวเดียวคือไวรัสที่ทำให้เกิดโรคฝีดาษ (Smallpox) หรือไข้ทรพิษ อันเกิดจากเชื้อไวรัสวาริโอลา (Variola Virus) ที่ติดต่อผ่านการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย หรือการหายใจเอาเชื้อไวรัสที่อยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูก หรือน้ำลายของผู้ป่วย และการกำจัดไวรัสอีกตัวที่ใกล้จะสำเร็จคือโปลิโอ (Polio หรือ Poliomyelitis หรือ Infantile paralysis) หรือบางครั้งเรียกว่า “โรคไขสันหลังอักเสบ” เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโปลิโอ
5. คำว่าโรคประจำถิ่น (Endemic) ทาง WHO แถลงว่า ไม่ได้หมายความว่าตัวเชื้อก่อโรคจะต้องยุติการระบาดหรือสูญหายไป เช่น กรณีของ เชื้อเอชไอวี (HIV) ที่ก่อให้เกิดโรคเอดส์ เชื้อไมโครแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซีส ที่ก่อให้เกิดวัณโรคปอด และเชื้อมาลาเรียที่ก่อให้เกิดโรคไข้จับสั่น ปัจจุบันถือได้ว่าเป็นโรคประจำถิ่น แต่เชื้อทั้งสามก็ยังเป็นสาเหตุที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกปีละหลายล้านคน โดยแต่ละประเทศต้องมีมาตรการควบคุมที่เข้มงวดและต่อเนื่องเพื่อป้องกันมิให้เชื้อเหล่านี้กลับมาระบาดใหญ่ (Pandemic) ได้อีก
ดังนั้นในกรณีของไวรัสโคโรนา 2019 ที่ทางภาครัฐจะปรับให้เป็นโรคประจำถิ่นเร็วๆนี้ คาดว่าประชาชนคนไทยจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหลายอย่างเพื่ออยู่ร่วมกับไวรัสตัวนี้ให้ได้”